Welcome to Dentalia! You can place widgets here.

ทันตกรรมรากเทียม

การให้บริการทันตกรรมของเรา

ทันตกรรมรากเทียม

เป็นวิธีหนึ่งในการทดแทนฟันที่สูญเสียไป จัดอยู่ในประเภทฟันปลอมติดแน่นที่ยึดอยู่ในช่องปาก โดยการฝังรากเทียม

ซึ่งรากเทียมจะทำจากวัสดุที่เข้ากันได้กับร่างกาย เป็นประเภท Titanium ฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรมีส่วนประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้

  • 1. รากเทียม (Fixture)

ซึ่งทำมาจากโลหะไทเทเนียม (Titanium) ซึ่งมีลักษณะ คล้ายรากฟันและจะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร ซึ่งสามารถยึดติดได้อย่างแนบแน่น โดยไม่ทำให้เนื้อเยื่ออักเสบ และไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆ

  • 2. เดือยรองรับครอบฟัน (Abutment)

เมื่อฝังรากเทียมบนกระดูกขากรรไกร จะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือนเพื่อให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรได้ดี หลังจากนั้น จึงจะใส่เดือยรองรับครอบฟันลงบนรากเทียม เพื่อใช้เป็นที่รองรับ ครอบฟันต่อไป

  • 3.ครอบฟัน (Crown)

เป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของเหงือก ซึ่งจะทำมาจากเซรามิค (Porcelain) มีรูปร่างลักษณะและสีเหมือนฟันธรรมชาติ

ข้อดีของรากเทียม ได้แก่ ฟันที่ใส่จะมีความสวยงามใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมาก เนื่องจากเป็นการสร้างเลียนแบบฟันเดิมทั้งในส่วนของตัวฟันและรากฟัน ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวนั้นใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ เนื่องจากแรงบดเคี้ยวจะถูกถ่ายทอดไปสู่กระดูกขากรรไกรที่อยู่ข้างใต้โดยตรง
นอกจากนี้แล้วรากเทียมจะค่อนข้างมีความคงทนแข็งแรง ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อฟันธรรมชาติและเหงือกที่อยู่โดยรอบ เนื่องจากไม่ต้องมีการกรอแต่งฟันธรรมชาติข้างเคียง

ข้อเสียของรากเทียม ได้แก่ การทำค่อนข้างใช้เวลานานกว่าฟันปลอมชนิดอื่น โดยจะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน เนื่องจากจะต้องรอให้กระดูกโดยรอบยึดกับรากเทียมอย่างเต็มที่ก่อนที่จะใส่ฟันปลอม

ค่าใช้จ่ายของการทำรากเทียมจะสูงกว่าของฟันปลอมชนิดอื่น นอกจากนี้แล้วผู้ที่มีปัญหาในการดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานบางชนิด ผู้ป่วยที่เคยถูกฉายรังสีรักษาในบริเวณใบหน้า ตลอดจนผู้ที่มีโรคทางระบบบางอย่าง เช่น เบาหวาน อาจส่งผลเสียต่อการยึดติดของรากเทียมได้เช่นกัน ดังนั้นรากเทียมจึงไม่สามารถใส่ได้ในผู้ป่วยทุกราย

ผู้ที่เหมาะสมกับรากเทียม ได้แก่ ผู้ที่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้เป็นอย่างดี ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เนื่องจากบุหรี่จะส่งผลเสียต่อการยึดติดของรากเทียม ผู้ที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการเป็นโรคทางระบบบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคทางกระดูกบางอย่าง ดังนั้นผู้รับบริการที่สนใจจะทำรากเทียมจึงจำเป็นต้องคุยปรึกษากับทันตแพทย์เฉพาะทางอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจลงมือทำ

ติดต่อ นัดหมาย ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษา หรือสอบถามเส้นทาง

บริการทันตกรรมอื่นๆ

นัดพบแพทย์

เพียงกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน แล้วเราจะติดต่อกลับให้เร็วที่สุด