การให้บริการทันตกรรมของเรา
บริการด้านอื่นๆ
-
1. เฝือกสบฟัน หรือ Occlusal Splint
เป็นเครื่องมือทางทันตกรรมอย่างหนึ่งที่ทันตแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยใส่ในช่องปากเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยวทั้งยังป้องกันฟันสึกในผู้ป่วยที่นอนกัดฟันด้วย ผู้ที่เหมาะสมต้องใส่เฝือกสบฟัน
1. มีนิสัยนอนกัดฟัน หรือขบเน้นฟันในเวลากลางวัน มีการใช้งานกล้ามเนื้อบดเคี้ยวมากกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกรได้
2. มีเสียงคลิกและติดขัดเวลาอ้าปากหรือหุบปาก
3. มีภาวะข้อเสื่อมของขากรรไกร เนื่องจากเฝือกสบฟันช่วยกระจายแรงสบฟันอย่างเหมาะสม ทำให้ลดแรงที่กล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกร ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอาการปวด นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันฟันสึกจากการนอนกัดฟันได้
ชนิดของเฝือกสบฟัน
1. เฝือกสบฟันชนิดอ่อน (Soft Occlusal Splint) เป็นเฝือกสบฟันที่ทำจากวัสดุนิ่ม ทำได้ง่ายและรวดเร็ว มักใช้ในกรณีที่
– ผู้ป่วยอายุน้อย ขากรรไกรยังมีการเจริญเติบโต จึงไม่ขัดขวางการเจริญเติบโตของขากรรไกร
– ใช้บำบัดฉุกเฉินในผู้ป่วยที่มีอาการปวดมาก ใช้ชั่วคราวระหว่างรอทำเฝือกสบฟันชนิดแข็ง
– ใช้ในกรณีอื่นๆ เช่น ป้องกันฟันสึกกร่อนจากการว่ายน้ำที่ต้องสัมผัสน้ำคลอรีนเป็นเวลานานๆ ใช้ป้องกันการกระทบกระแทกขณะเล่นกีฬาบางประเภท เป็นต้น
*ข้อเสีย เฝือกสบฟันชนิดอ่อน มีอายุการใช้งานสั้น ไม่ทนทาน จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยๆ และบางครั้งอาจทำให้นอนกัดฟันมากขึ้นได้
2. เฝือกสบฟันชนิดแข็ง (Hard Occlusal splint) ทำจากพลาสติกชนิดแข็ง มีอายุการใช้งานนานกว่าเฝือกสบฟันชนิดอ่อน มักใช้ในกรณีที่
– นอนกัดฟัน เพื่อป้องกันฟันสึก และช่วยลดอาการเมื่อยล้าขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
– ผู้ป่วยมีนิสัยขบเน้นฟันในเวลากลางวัน แล้วแก้นิสัยไม่หาย
– มีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรบางประเภท เช่น ข้อต่อขากรรไกรเสื่อม หรือมีเสียงคลิกและติดขัดเวลาอ้าปากหรือหุบปาก (บางราย)
*ข้อเสีย เฝือกสบฟันชนิดแข็ง ใช้เวลาทำนาน จึงต้องเสียเวลามากกว่าเฝือกสบฟันชนิดอ่อน เฝือกสบฟันชนิดนี้อาจขัดขวางการเจริญเติบโตของขากรรไกรจึงไม่เหมาะสมที่จะใช้ในเด็กที่ยังมีการเจริญเติบโตของขากรรไกรอยู่
*ข้อดีที่สำคัญ คือ ทำให้การสบฟันมีเสถียรภาพขณะใส่และกล้ามเนื้อผ่อนคลายได้ดีกว่า
ซึ่งทางคลินิกเด็นทัล สมาร์ท มีให้บริการทำเฝือกสบฟันทั้ง 2 แบบ
-
2. การทำเขี้ยว และติดเพชร
การทำเขี้ยว คือการนำวัสดุอุดสีเหมือนฟันมาอุดเสริมที่ฟันเขี้ยวบน อาจจะด้านซ้ายหรือขวานั้นแล้วแต่ทางผู้รับบริการ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ทันตแพทย์จะทำความสะอาดผิวเคลือบฟัน เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์และคราบสีภายนอกฟัน
2. ทาสารปรับสภาพฟัน ก่อนทำการติดวัสดุสีเหมือนฟัน
3. ทาสารยึดติดระหว่างฟันและวัสดุสีเหมือนฟัน
4. เลือกสีฟัน และเติมวัสดุให้ได้รูปทรงที่สวยงาม และตกแต่งให้มีรูปร่างตามที่ต้องการ
5. ขัดแต่งวัสดุสีเหมือนฟันให้ผิวเรียบและสวยงาม
6. ถ้าต้องการติดเพชร จะทำการกรอวัสดุอุดสีเหมือนฟันให้ได้ขนาดตามเพชรที่จะติด และยึดกับฟันเขี้ยวตามตำแหน่งที่ต้องการ
ติดต่อ นัดหมาย ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษา หรือสอบถามเส้นทาง
บริการทันตกรรมอื่นๆ
ทันตกรรมจัดฟัน
เป็นการรักษาทางทันตกรรมที่ให้ความสำคัญกับการเรียงตัวของฟัน เนื่องจากฟันซ้อนเก ฟันยื่น ฟันเยิน หรือ มีช่องว่างระหว่างฟันที่เรียงอย่างไม่เป็นระเบียบ
ทันตกรรมเด็ก
ทันตกรรมสาขาหนึ่งซึ่งให้คำปรึกษา ดูแลรักษา ป้องกันปัญหา สุขภาพช่องปากและฟันแก่เด็ก
ทันตกรรมบูรณะ
การอุดฟันช่วยรักษาฟันที่เสียหายจากฟันผุให้กลับมาทำหน้าที่ได้ตามปกติและมีรูปทรงเหมือนเดิม
ทันตกรรมใส่ฟันทดแทน
ฟันปลอม คือ ฟันที่ถูกทำขึ้นโดยทันตแพทย์เพื่อใส่ทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่สูญเสียฟันให้ดีขึ้น
ทันตกรรมปริทันต์
การรักษาโรคปริทันต์อักเสบ โดยการขูดหินปูน ร่วมกับการเกลารากฟัน ซึ่งอาจจะต้องมาทำการรักษาทุก ๆ 3-6 เดือน
ทันตกรรมรากเทียม
เป็นวิธีหนึ่งในการทดแทนฟันที่สูญเสียไป จัดอยู่ในประเภทฟันปลอมติดแน่นที่ยึดอยู่ในช่องปาก โดยการฝังรากเทียม
ทันตกรรมรักษารากฟัน
การรักษารากฟัน คือ การกำจัดเนื้อเยื่อที่มีการติดเชื้อ และอักเสบ ในโพรงฟันและคลองรากฟัน
ศัลยศาสตร์ช่องปาก
ศัลยกรรมช่องปากเป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดช่องปาก
ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม
รอยยิ้มที่สวยงาม เป็นสิ่งที่ทุกคนนั้นปรารถนา ทันตกรรมเพื่อความสวยงามในปัจจุบัน คือการรักษาทางทันตกรรมรูปแบบใหม่
นัดพบแพทย์
เพียงกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน แล้วเราจะติดต่อกลับให้เร็วที่สุด