คำถามที่พบบ่อย
ตอบ รีเทนเนอร์เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่หลังจัดฟัน เพื่อคงสภาพฟัน ไม่ให้ฟันที่ผ่านการจัดแล้วเคลื่อนจากตำแหน่งเดิม ผู้ที่ถอดเครื่องมือจัดฟันออกแล้ว ต้องใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของทันตแพทย์ หากไม่ปฏิบัติตาม ก็มีโอกาสฟันล้ม ฟันเก หรือฟันห่างได้ ซึ่งเท่ากับว่าการจัดฟันที่ผ่านมานั้นสูญเปล่า และต้องกลับไปจัดฟันใหม่อีกรอบนั่นเอง
ตอบ จัดได้ แต่ต้องมารับการตรวจเพื่อแผนการรักษาที่ถูกต้อง กรณีจัดฟันที่อื่นและต้องการเปลี่ยนคลินิกเปลี่ยนหมอ สามารถทำได้ แต่สิ่งที่ต้องทราบ คือ
1. คุณหมอจัดฟันแต่ละท่าน จบเฉพาะทางจัดฟันจากหลายๆที่ แต่ละที่มีเทคนิคไม่เหมือนกัน
2. เครื่องมือที่ใช้มีหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายประเทศผู้ผลิต
3. ตำแหน่งและเทคนิคการติดเครื่องมือบนฟัน แตกต่างกันในคุณหมอจัดฟันแต่ละท่าน
สิ่งต่างๆเหล่านี้ ทำให้เวลาคนไข้ต้องการจะย้ายเคส เปลี่ยนคลินิก เปลี่ยนหมอ อาจจะต้องทำการถอดเครื่องมือเก่าออก และเริ่มการรักษาใหม่หมด มีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่สามารถจัดฟันต่อได้เลย ซึ่งต้องให้คุณหมอจัดฟันท่านใหม่พิจารณาและอธิบายแผนการรักษา โดยคนไข้ควรจะขอประวัติการรักษา โมเดลพิมพ์ฟันและเอ็กซเรย์จากคลินิกเดิมมาด้วย
ตอบ กรณีการอุดฟันด้วยอมัลกัม หลังอุดฟันไปต้องหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง ทางด้านที่มีการอุดฟันไปประมาน 24 ชั่วโมง เนื่องจากวัสดุอุดอมัลกัม ต้องใช้เวลาในการแข็งตัวของวัสดุให้เต็มที่ และสามารถแปรงฟันได้ตามปกติ ส่วนการอุดด้วยวัสดุอุดสีเหมือนฟัน สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ แต่ในการอุดฟันทุกชนิด ผู้รับบริการควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่แข็งๆมากๆ เช่น กระดูก เนื่องจากจะทำให้วัสดุอุดแตกได้
ตอบ 1. ปวดหรือเสียวฟัน
2. ฟันสีเหลืองหรือมีราบ
3. มีจุดแดงหรือจุดขาวกระจายอยู่บนเหงือก
4. ฟันโยกคลอนหรือหลุดออกจากกระดูกเบ้าฟัน
5. เหงือกบวมและเป็นหนอง
ตอบ
1. ปวดฟัน ไม่ว่าปวดมากหรือปวดน้อย เราก็ไม่ควรเพิกเฉยกับอาการปวดฟัน แต่ถ้าเป็นอาการปวดที่ไปถึงรากฟันแล้ว มักจะปวดเรื่อยๆ ปวดขึ้นมาเอง หรือปวดตุ๊บๆ ตอนกลางคืน เป็นต้น
2. เสียวฟันมาก เสียวฟันมากๆ ในขณะรับประทานอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารร้อนหรือเย็น เสียวฟันมากจนเคี้ยวต่อไม่ได้
3. ปวดหรือร้าวฟัน เมื่อกัดหรือเคี้ยวอาหารด้วยฟันซี่นั้น เป็นสัญญาณว่า ปลายรากฟันเริ่มมีการอักเสบ
4. ฟันแตก ฟันผุขนาดใหญ่ ฟันผุที่มีการลุกลามไปจนเนื้อฟันแตก จนเห็นเป็นรูใหญ่ ซึ่งฟันอาจผุมากจนทะลุโพรงประสาทฟัน
5. ฟันมีสีคล้ำกว่าซี่ข้างเคียง ฟันที่มีสีคล้ำลง มักเกิดขึ้นฟันซี่นั้นตายแล้ว ส่วนใหญ่เป็นฟันซี่ที่เคยได้รับอุบัติเหตุมา
6. มีตุ่มหนอง ในบางคนพบว่ามีตุ่มหนองขึ้นมาบริเวณเหงือก โดยไม่มีอาการปวดเลย มักพบในฟันที่มีประวัติการผุลึก
ตอบ ถ้ามีอาการปวด หรือบวม สามาถถอนฟัน หรือผ่าฟันคุดได้ค่ะ แต่อาจจะมีความรู้สึกอยู่บ้างขณะถอนเนื่องจากหนองจากการติดเชื้อทำให้ยาชาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ ซึ่งทันตแพทย์อาจปรับการฉีดยาชาแบบสกัดความรู้สึกเฉพาะที่เป็นการฉีดยาชาแบบสกัดเส้นประสาทแทน
ทั้งนี้คนไข้ที่มีการติดเชื้อลุกลามรุนแรงมีโรคทางระบบ ทันตแพทย์อาจจ่ายยาฆ่าเชื้อและยาแก้ปวดให้คนไข้กลับไปก่อนเพื่อลดการติดเชื้อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นก่อน หรือเพื่อประวิงเวลาให้คนไข้ไปปรึกษากับแพทย์ประจำตัวเกี่ยวกับโรคที่คนไข้เป็น ข้อพิจารณาเพิ่มเติมสำหรับคนไข้ที่มีการติดเชื้อลุกลามรุนแรงหรือมีโรคทางระบบ การจ่ายยาฆ่าเชื้อก่อนทำหัตถการอาจมีประโยชน์ในการป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบริเวณอื่น
ตอบ สามารถทำได้ แต่ทางที่ดีควรมารับการตรวจจากทันตแพทย์เพื่อประเมินอีกครั้ง เพราะในบางกรณีอาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะก่อน
ตอบ สามารถพาลูกมาพบทันตแพทย์ตั้งแต่ช่วงขวบปีแรก หรือช่วงที่ฟันน้ำนมของลูกเพิ่งขึ้น ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะต้องให้ลูกมาทำฟันเสมอไป แต่เป็นการมาเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากของลูกว่ามีความผิดปกติไหม เพื่อให้ทันตแพทย์แนะนำวิธีการดูแลสุขภาพฟันที่ถูกต้อง และเป็นการปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีตั้งแต่เด็กๆ
ถาม-ตอบ
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม เพียงกรอกข้อมูลให้ครบ แล้วเราจะตอบกลับให้เร็วที่สุด