Welcome to Dentalia! You can place widgets here.

ศัลยศาสตร์ช่องปาก

การให้บริการทันตกรรมของเรา

ศัลยศาสตร์ช่องปาก

ศัลยกรรมช่องปากเป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด ซึ่งทันตแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาก่อนที่จะเริ่มการรักษา โดยศัลยกรรมช่องปากประกอบด้วย

  • การถอนฟัน (Extraction)
  • การผ่าฟันคุด หรือ ฟันฝัง (Surgical removal)
  • การผ่าตัดตกแต่งกระดูก (Alveoloplasty)

  • สาเหตุที่ถอนฟัน

การถอนฟันถือเป็นทางเลือกสุดท้ายหลังจากทันตแพทย์พิจารณาหรือพยายามรักษาด้วยวิธีอื่นเพื่อเลี่ยงการถอนฟันแล้วแต่ไม่ได้ผล หรือเมื่อมีความจำเป็นต้องถอนฟัน ได้แก่

1.ฟันซ้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดฟันสำหรับผู้ที่จัดฟันบางราย หากมีฟันซ้อนกันมากเกินไปในช่องปากจนไม่มีที่ในการเรียงฟัน ทันตแพทย์จัดฟันจะพิจารรณาถอนฟันบางซี่ออกไป เพื่อให้ฟันสามารถเรียงฟันได้อย่างสวยงาม

2.การติดเชื้อหรืออักเสบของฟัน เมื่อฟันผุหรือเกิดความเสียหายลุกลามไปถึงโพรงประสาทฟันซึ่งเป็นชั้นที่ประกอบด้วยเส้นประสาทและเส้นเลือด ปกติสามารถรักษาได้ด้วยการรักษารากฟันเพื่อคงฟันซี่นั้นไว้ แต่สำหรับฟันที่เสียหายรุนแรงและสายเกินกว่าจะรักษาด้วยวิธีดังกล่าว การถอนฟันจึงกลายเป็นทางเลือกเดียวเพื่อป้องกันการลุกลามของการติดเชื้อ

3.มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอที่อาจเป็นผลจากการรับยาเคมีบำบัดหรือยากดภูมิคุ้มกันจะทำให้ฟันที่ผุอยู่แล้วมีโอกาสผุยิ่งขึ้น และยังอาจอักเสบติดเชื้อลุกลาม ก่อนการรักษาด้วยยาดังกล่าว ทันตแพทย์จึงต้องตรวจดูก่อนว่าผู้ป่วยมีฟันผุหรือไม่ หากมี จึงจำเป็นต้องถอนฟันซี่ที่ผุออกแทนการอุดฟันเหมือนคนปกติทั่วไป นอกจากนี้ โรคเหงือกที่ทำให้เกิดฟันโยกเนื่องจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและกระดูกรอบฟันและกระดูกที่รองรับฟันอยู่ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทันตแพทย์แนะนำให้ถอนฟัน

นอกจากเหตุผลข้างต้นแล้ว การถอนฟันยังอาจจำเป็นหากมีฟันเกที่ไปกระทบต่อเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มข้างแก้ม ฟันแตกหักจากอุบัติเหตุ มีฟันเกินในช่องปาก ฟันที่อยู่ใกล้บริเวณที่ผิดปกติอย่างเนื้องอกหรือมะเร็ง หรือเป็นผลจากการต้องเข้ารักษาด้วยการฉายรังสี รวมถึงข้อคำนึงด้านค่ารักษา ในกรณีที่ฟันผุและสามารถรักษารากฟันได้โดยไม่ต้องถอน แต่การรักษารากฟันนั้นจะมีราคาแพงกว่าการถอนฟัน

  • ขั้นตอนการถอนฟัน

กระบวนการถอนฟันถือว่าทำได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าหรือถอนฟันคุดซึ่งเป็นฟันที่ยังไม่โผล่พ้นเหงือกหรือขึ้นไม่ปกติ เริ่มจากการฉีดยาชาเพื่อทำให้ไร้ความรู้สึกบริเวณที่ทันตแพทย์จะถอนฟัน ในการถอนฟัน ทันตแพทย์จะทำให้ฟันหลวมออกจากกระดูกขาขากรรไกรและเส้นเอ็น จากนั้นใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าคีมหรือปากคีบจับฟันแล้วค่อย ๆ ดึงออกมา ทั้งนี้ฟันที่ถอนยาก ไม่สามารถเอาออกมาได้ในคราวเดียว อาจต้องถอนโดยแยกเป็นชิ้นส่วนหลายครั้ง

หลังจากถอนฟัน ร่างกายจะสร้างลิ่มเลือดออกมาช่วยในกระบวนการรักษาโดยค่อย ๆ ปิดบาดแผลหรือรูฟันที่ถอน ทันตแพทย์จะพับผ้าก๊อซแล้ววางลงบนแผลเพื่อให้คนไข้กัดเพื่อหยุดเลือดที่ไหลออกมาหลังการถอนฟันนี้ บางครั้งอาจมีการเย็บแผลเพื่อปิดขอบเหงือกเหนือแผลถอนฟันเอาไว้

  • ขั้นตอนการผ่าฟันคุด

ในการผ่าฟันคุดเริ่มแรกทันตแพทย์จะใส่ยาชาตรงบริเวณที่เป็นฟันคุด เมื่อยาชาออกฤทธิ์เต็มที่แล้วคุณหมอจะทำการเปิดเหงือกออก ตรงส่วนที่คลุมฟันคุดซี่นั้นอยู่ จากนั้นจะทำการแบ่งฟันออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เมื่อนำฟันคุดออกหมดแล้วคุณหมอจะล้างแผลให้สะอาด จากนั้นจึงเย็บปิดบาดแผลเป็นอันเสร็จสิ้น

หลังจากผ่าฟันคุดแล้ว อาจมีเลือดออกซึม ๆ ตรงบริเวณแผล ประมาณ 2 ชั่วโมง และมีอาการปวด บวม แดงที่แก้ม ซึ่งใช้เวลาไม่นานก็สามารถหายเป็นปกติ แต่ถ้าคุณมีอาการปวดฟันคุดไม่หายสักที ควรรีบไปพบทันตแพทย์

คุณสามารถทราบว่ามีฟันคุดฝังอยู่ ณ ตำแหน่งใดบ้าง โดยการไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและเอกซเรย์ เมื่อคุณหมอตรวจพบแล้วก็ทำการทยอยผ่าออกก่อนที่จะมีอาการปวดบวม ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้ฟันข้างเคียงมีปัญหา การผ่าตัดฟันคุดในช่วงยังเป็นวัยรุ่นจะสามารถทำได้ง่ายกว่า แผลค่อนข้างหายเร็วและผลแทรกซ้อนหลังผ่าตัดก็ต่ำกว่า ดังนั้น หากคุณมีฟันคุดก็ไม่ควรปล่อยไว้ ควรรีบไปผลแพทย์แต่เนิ่น ๆ ดีกว่าปล่อยไว้นาน ๆ แล้วไม่เป็นผลดีต่อตนเอง

  • การดูแลรักษาหลังการถอนฟัน และผ่าฟันคุด

โดยมากแผลจากการถอนฟันจะดีขึ้นภายในระยะเวลาไม่กี่วัน การดูแลรักษาอย่างดีจะช่วยให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้นและปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน โดยมีข้อปฏิบัติต่อไปนี้

  • กัดผ้าก๊อซปิดแผลไว้ให้แน่นแต่ไม่รุนแรงเกินไป เพื่อให้เลือดหยุดไหลและเกิดกระบวนการสร้างลิ่มเลือดในร่องฟันที่ถูกถอนไป กัดไว้อย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงหลังจากการถอนฟัน

  • รับประทานยาบรรเทาอาการปวด หรือยาปฏิชีวนะตามทันตแพทย์แนะนำ หรืออาจใช้น้ำแข็งประคบข้างแก้ม จะช่วยลดอาการเจ็บและบวมลงได้

  • ในนกรณีผ่าฟันคุด หรือการถอนฟันที่ใช้เวลานาน อาจมีอาการบวมร่วมด้วย ควรประคบแก้มด้านนอกบริเวณที่ถอนฟันด้วยน้ำเย็นบ่อย ๆ ในวันที่ผ่า สัก 1-2 วัน และประคบน้ำอุ่นในวันที่ 3 หากยังมีอาการบวมอยู่

  • ในกรณีถอนฟันที่มีการเย็บแผล ควรมาตัดไหมตามที่ทันตแพทย์นัด

  • ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากการถอนฟันไม่ควรกลั้วปากหรือหรือบ้วนแรง ๆ เพราะอาจทำให้ลิ่มเลือดเคลื่อนที่ออกจากแผลถอนฟันจนเลือดไหล

  • รับประทานอาหารที่เคี้ยวง่ายหรือไม่ต้องเคี้ยว เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม และอาหารรสเผ็ดจัด แล้วค่อย ๆ รับประทานอาหารเป็นปกติขึ้นเรื่อย ๆ ในวันต่อไป ควรใช้ฟันข้างที่ไม่ได้ถูกถอนเคี้ยวแทนในวันแรก ๆ

  • ไม่ควรนอนราบไปกับพื้น เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลจากแผล ควรนอนหนุนหมอนให้ศีรษะสูงกว่าลำตัว

  • อย่าดูดหรือใช้ลิ้นดุนบริเวณแผลที่เพิ่งถอนฟัน

  • งดการออกกำลังกาย หรือ ออกแรง หลังการถอนฟันเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลออกมาอีก

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ที่จะส่งผลให้แผลหายช้าลงได้ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง

  • สามารถรักษาความสะอาดของช่องปากและฟันด้วยการแปรงฟันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้กระทบบริเวณแผลจากการถอนฟัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้

ระยะเวลาในการฟื้นตัวหลังถอนฟันมักจะใช้เวลา 1-2 วัน การถอนฟันออกไปอาจส่งผลให้ฟันซี่ที่อยู่ข้าง ๆ เลื่อนตัว หรือส่งผลต่อการเคี้ยวอาหารได้ ทันตแพทย์จึงอาจแนะนำให้ใส่วัสดุเสริมแทนฟันซี่ที่ถูกถอน ได้แก่ ฟันปลอม หรือสะพานฟัน เป็นต้น

ติดต่อ นัดหมาย ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษา หรือสอบถามเส้นทาง

บริการทันตกรรมอื่นๆ

นัดพบแพทย์

เพียงกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน แล้วเราจะติดต่อกลับให้เร็วที่สุด

Dental Smart Clinic

The Nine Rama9
ชั้น2 ติดร้านหนังสือนายอินทร์

Phone

02-056-7806
085-366-9964

Open Every Days

10:00 AM - 20:30 PM

Appointment

Dentalsmartclinic.th@gmail.com